วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปวดเท้า

ว่าด้วยเรื่องของเท้า


     เท้าเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของมนุษย์ 
เปรียบ เสมือน”กระจกเงา”ส่องถึงการมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ดี ในยุคโบราณผ่านมาห้าพันกว่าปี ชาวจีนได้มีการนวดฝ่าเท้าในการรักษาโรค หรือการนวดเพื่อดูแลสุขภาพเท้าของเรา ในแต่ละคน เท้าจะถูกใช้งานอย่างมากมายตั้งแต่ตื่นนอนพาเราไปทุกที่ที่เราต้องการจนการทั่งเข้านอน ในแต่ละก้าวเดินของการก้าวเท้า เท้าจะรับน้ำหนักของเราอย่างมากมาย และวันไหนที่ใช้เท้ามากและเร่งรีบในการทำงาน เท้าก็จะมีอาการปวดเมื่อยหรืออักเสบได้


โครงสร้างของเท้า
ผิวหนังจะมีต่อมเหงื่อ บริเวณส้นเท้าจะไม่มีต่อมไขมัน เท้าจะประกอบด้วยเส้นประสาทที่คอยรับความรู้สึกของการเจ็บปวด ร้อนเย็น เท้ายังทำหน้าที่รองรับหลอดเลือด ลำเลียงออกซิเจนและอาหารไปยังเนื้อเยื่อของเท้าและยังปรับอุณหภูมิของเท้าให้อยู่ในระดับพอเหมาะ
กระดูกเท้ามี 26 ชิ้น  กล้ามเนื้อ 19 มัด เอ็น 100 กว่า กระดูกเท้าในแต่ละชิ้นจะมีข้อต่อเชื่อมกันอยู่มีเอ็นยึดคอยดึงไว้ โดยมีกล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่นเคลื่อนไหวไปได้ตามต้องการ ปัญหาของเท้าที่จะพบบ่อยๆคือ

1.ข้อเท้าแพลง
ภาวะข้อเท้าแพลงคือการที่พังผืดดังกล่าวถูกยืดออกหรือฉีกขาดส่วนใหญ่เป็นท่า เท้าชี้ลงซึ่งเป็นท่าที่ไม่มั่นคง
การรักษา แบ่งได้ 3 ระยะ
ระยะแรก พยายามอย่าให้ข้อเท้าบวมมาก อย่าคลึงในระยะนี้ลดอาการเจ็บ โดยการประคบด้วยน้ำแข็ง จากนั้นอย่าให้ลงน้ำหนักและเอาผ้ายืดมาพันที่ข้อเท้า
ระยะที่สอง  การพันผ้ายืดเริ่มจากปลายเท้าขึ้นมา เมื่อผ่านข้อเท้าไปถึงรอบที่ 5 ก็พันกลับมาที่เท้าและกลับไปที่ข้อเท้าอีกเพื่อให้ข้อเท้าแน่นพอสมควร
ระยะสาม  การปิดพลาสเตอร์ต้องปิดจากด้านในดึงขึ้นสู่ด้านนอกและเวลาดึงออกก็ต้องดึงจากด้านในสู่ด้านนอกเช่นกัน ระยะนี้อาจใช้ไม้ยันรักแร้
ระยะความปวดจะลดน้อยลงหลัง 24-48 ชั่วโมง การนวดเริ่มนวดได้และจะคลึงไปมาบริเวณที่เป็นจุดเจ็บส่วนใหญ่ด้านหน้าและด้านล่างของตาตุ่มอาจให้แช่น้ำอุ่น ระยะนี้ยังต้องพันผ้ายืด การใช้ยาทาบริเวณที่เจ็บย่อมทำได้แต่ต้องเบาๆ
ระยะเรื้อรัง เกิดจากการรักษาที่ไม่ถูกต้องหรือการปล่อยปะละเลย ข้อเท้าจะติดขัดและมักจะมีอาการแพลงขึ้นบ่อยๆ ในระยะนี้ต้องขยี้ที่จุดเจ็บให้หนักเท่าที่ทนได้ จนรู้สึกความเจ็บปวดลดน้อยลงการขยี้ควรทำในลักษณะขวางเส้นใยพังผืดที่เกาะอยู่และต้องดัดข้อเท้าให้มีการเคลื่อนไหว คือกระดกขึ้นจากท่ายืนได้ 20 และชี้ปลายเท้าลงได้ 50 

3.เส้นเลือดขอด


เส้นเลือดขอดจะมีอยู่ทั่วร่างกาย การปรากฏตัวของเส้นเลือดบริเวณขา เราคงไม่พอใจเหมือนที่ปรากฏจางๆบริเวณหน้า ที่เรียกว่า เลือดฝาด แต่บริเวณขาเราเรียกว่า “เส้นเลือดขอด”มักพบในหญิงสูงวัย ลักษณะของเส้นเลือดขอดที่พบมาก คือจะสังเกตเห็นเส้นเขียวๆ เมื่อพิจารณาใกล้ๆ บางแห่งขดเป็นก้อนมีลักษณะนูนโป่งออกจนดูน่ากลัว หรือบางแห่งมีแผลเป็นจากรอยแผลที่เรื้อรัง

เส้นเลือดขอดคืออะไร
หลอดเลือดดำที่มักมีอาการขอดคือหลอดเลือดดำใหญ่ของขาที่กระจายอยู่ทั่วไปใต้ผิวหนังและในกล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำเหล่านี้จะไหลขึ้นไปยังบริเวณข้อพับของสะโพก เทลงสู่หลอดเลือดดำที่ใหญ่กว่าไหลขึ้นผ่านช่องท้องเข้าสู่หัวใจ
ผนังของหลอดเลือดดำเหล่านี้บางมากไม่มีแรงที่จะบีบให้เลือดดำขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าเราอยู่ในท่ายืน ดังนั้นกล้ามเนื้อขาจึงมีความสำคัญมากในการบีบให้เลือดดำกลับสู่หัวใจ

สาเหตุ
   -กล้ามเนื้อขาที่ไม่มีกำลังหรือไม่ค่อยมีโอกาสเดิน ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการยืนอยู่กับที่ ซึ่งจะพบอาการนี้ใน ครู พนักงานขายของ  พนักงานขายตั๋วบนรถเมล์
   -อาจเกิดจากความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลานานเช่น หญิงมีครรภ์ เมื่อความดันในช่องท้องสูงมาก เลือดดำย่อมไม่สามารถไหลขึ้น ทำให้คั่งอยู่ที่ขา
  -อาจเกิดจากไปทับถูกหลอดเลือดดำ ทำให้เลือดไหลไม่สะดวก ซึ่งพบบ่อยในหญิงมีครรภ์ทารกในท้องจะใหญ่ขึ้นๆ การกดทับก็มากขึ้น ดังนั้นยิ่งใกล้วันคลอด อาการหลอดเลือดขอดยิ่งเด่นชัด
  -นอกจากนี้ ในรายที่มีเนื้องอกในช่องท้องน้อยก็ทำให้มีอาการได้ แต่สาเหตุนี้พบน้อยมาก
   -ความอ้วน  ไขมันที่ไปพอกอยู่ตามเส้นเลือดดำทำให้เลือดไหลไม่สะดวก
เมื่อเกิดการคั่งของเลือดที่ขา หลอดเลือดดำที่ผนังบางอยู่แล้ว จะค่อยๆโป่งออก ลิ้นในหลอดเลือดจะเสียไปเพราะปิดกั้นเลือดไม่อยู่ ทำให้เลือดคั่งมากขึ้นอีก หลอดเลือดดำจะขดเป็นก้อนๆ
สิ่งที่ตามมาคือผิวหนังบริเวณนั้นแห้งและบาง เพราะเซลของผิวหนังที่ตายไปแล้วไม่มีเซลใหม่ขึ้นมาแทนที่จึงมีลักษณะเป็นขุย เป็นแผลได้ง่าย แต่หายยาก เนื่องจากเลือดแดงลงมาเลี้ยงลำบาก แผลจึงมักจะเรื้อรังเกิดเป็นแผลเป็นขึ้นมา ที่ข้อเท้าและเท้ามักมีอาการบวม เพราะการคลั่งของเลือดดำและน้ำเหลืองไม่สามารถกลับเข้าสู่หัวใจ
สัญญาณเตือนสำหรับขาที่เริ่มจะเป็นเส้นเลือดขอดจะรู้สึกเมื่อยล้าและเป็นตะคริวบ่อย เนื่องจาการมีของเสียตกค้างอยู่ปริมาณมากเกินไป

การรักษา
ในรายที่เป็นมานานจนเป็นก้อน สามารถ รักษาได้ 2 วิธี
1.ฉีดยาเข้าไปในเส้นเลือดให้เส้นเลือดแดงแห้งไป
2.ผ่าตัดเอาเลือดดำออก
แต่สองวิธีก็ไม่ใช่การรักษาที่หายขาด โอกาสจะเป็นอีกก็มี แต่การ “กันไว้ดีกว่าแก้” ย่อมเป็นสิ่งที่ควรจะนำมาใช้ นั่นคือ การกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเส้นเลือดขอดมากขึ้น
1.เมื่อมีอาการเป็นเส้นเขียวปรากฏขึ้นบนขา  หมั่นยกขาให้สูงเวลาเข้านอน การยกขาอาจใช้หมอนรองใต้น่องสักสองใบ
2.เมื่อมีโอกาสพัก ควรนั่งลง ถอดรองเท้าออก แล้วพาดขาไว้บนเก้าอี้อีกตัว เพื่อบริหารข้อเท้า
3.ควรใส่ถุงน่องที่สามารถกระชับได้แน่น หรือหาผ้ายางยืดพันตั้งแต่เท้าขึ้นมาถึงหาเข่า 
4.การนวดช่วยได้ ถ้าเป็นการนวดที่ถูกหลักวิธี ได้แก่
- นวดไปตามทิศทางการไหลของเลือดดำ ดังนั้นการลูบหนักๆ จากข้อเท้าขึ้นไปยังข้อพับบริเวณขาอ่อนจึงควรทำอย่างยิ่งสลับกับการคลึงกล้ามเนือของขา
5. ออกกำลังกายอาจจะใช้ท่าการถีบจักรยานในอากาศ
6. การใช้น้ำร้อนประคบ
5. รองเท้าส้นสูง อย่าใส่สูงมากเกินไป

2 ความคิดเห็น: